วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2558

ประเมิน กศน.ตำบล

การดำเนินงานของ กศน.ตำบลปงแสนทอง 

ประจำปีงบประมาณ 2558


***กศน.ตำบลปงแสนทอง***


ชื่อสถานศึกษา กศน.ตำบลปงแสนทอง
ที่ตั้ง/การติดต่อ ชุมชนบ้านหมอสม (โรงเรียนบ้านหมอเดิม) หมู่ที่ตำบลปงแสนทอง             อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง รหัสไปรษณีย์ 52000โทร 086-1153570 ,โทรสาร - E-mail nurse_toranong@hotmail.com  ระยะเวลาดำเนินงาน 4 ปี 6 เดือน
สังกัด  ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองลำปาง

    ครูที่ปฏิบัติงานในกศน.ตำบล       นายทรนง   ใจจืด
  
สภาพทั่วไปของตำบล
             เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำวังไหลผ่านตำบลปงแสนทอง อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ
268.60 เมตรลักษณะภูมิประเทศมีสภาพทั่วไปเป็นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำ และที่ราบเชิงเขาเป็น
บางส่วน เป็นเขตชุมชนเมืองกึ่งชนบท อุณหภูมิต่ำสุด 9.5 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิสูงสุด
43.8 องศาเซลเซียส และมีอุณหภูมิต่ำสุด - สูงสุดเฉลี่ยประมาณ 20.5 - 38.5 องศาเซลเซียส
ปริมาณน้ำฝนวัดได้เฉลี่ย 1,060.5 มิลลิเมตรต่อปี ลักษณะภูมิประเทศมีสภาพทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม
ริมฝั่งแม่น้ำเป็นที่ตั้งของสถานที่ราชการต่าง ๆ เช่น ศพช.เขตที่ 5 ศูนย์สงเคราะห์สตรีภาคเหนือ
สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน โรงเรียนตำรวจภูธร ฯลฯ

อาณาเขตตำบล
ทิศเหนือ จรดตำบลบ่อแฮ้ว
ทิศใต้ จรดตำบลศาลา อำเภอเกาะคา
ทิศตะวันออก จรดตำบลชมพู
ทิศตะวันตก จรดตำบลลำปางหลวง อำเภอเกาะคา                                      

จำนวนประชากรของตำบล  
จำนวนประชากรทั้งสิ้น 17,627 คน ชาย 8,544 คน หญิง 9,033 คน

         แยกตามชุมชน จำนวน 21 ชุมชน ดังนี้
1)ชุมชนปงแสนทอง                       11)ชุมชนทุ่งกู่ด้าย
     2)ชุมชนศรีก้ำ                                 12)ชุมชนบ้านกาดใต้
                         3)ชุมชนหมอสม                              13)ชุมชนบ้านช้าง
                         4)ชุมชนวังแคว้ง                              14)ชุมชนกาดโป่ง
                             5)ชุมชนลำปางตะวันตก                  15)ชุมชนบ้านสบตุ๋ย
                                  6)ชุมชนป่าตันกุมเมือง                    16)ชุมชนมงคลกาญจน์
                          7)ชุมชนป่ากล้วย                              17)ชุมชนบ้านม่กืย
                             8)ชุมชนบ้านหลวง                           18)ชุมชนบ้านสำเภา
                                        9)ชุมชนไร่นาน้อย                            19)ชุมชนหนองห้าตะวันตก
                           10)ชุมชนหนองบัว                            20)ชุมชนไร่ข่วงเปา
                                                                                      21)ชุมชนไร่สันติสุข

                       







หน่วยงานที่เข้าร่วมส่งเสริมและสนับสนุน  
    - ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง
    - เทศบาลเมืองเขลางค์นคร
    - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกาด
    - โรงเรียนบ้านฟ่อนวิทยา
    - ห้องสมุดประชาชนจังหวัดลำปาง
    - ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาลำปาง

            ศน.ตำบลปงแสนทอง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง  เป็นหน่วยงานที่รับมอบหมายงานจาก ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองลำปาง   ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดลำปาง  สำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการกระทรวงศึกษาธิการ  โดยตั้งอยู่ ณ ชุมชนบ้านหมอสม(โรงเรียนบ้านหมอสมเดิม) ตำบลปงแสนทอง มี 3 ห้องเรียน แยกเป็นระดับ ประถม ม.ต้น และม.ปลาย โดย     ปัจจุบันมีนักศึกษาทั้ง3ระดับ จำนวน 153 คน ดังนี้
     - ระดับประถมศึกษา                จำนวน 22 คน
     - ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น       จำนวน 59 คน
     - ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย    จำนวน 72 คน
**ทำการสอน วันอาทิตย์ เวลา 08.30 - 16.30 และวันอังคาร และ วันศุกร์  เวลา 18.00 - 21.00 น.


             กศน.ตำบลปงแสนทอง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง  มีภารกิจงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย   จากเดิมได้จัดกิจกรรมให้บริการแก่ประชาชน  เยาวชน  ผู้ขาดโอกาส   พลาดโอกาส  และขาดโอกาสทางการศึกษา  ได้มีโอกาสได้รับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  ผลผลิตที่ 4 ผู้รับบริการการศึกษานอกระบบ  กิจกรรมการส่งเสริมการรู้หนังสือ  การศึกษาต่อเนื่อง และกิจกรรมการศึกษาพื้นฐานนอกระบบ  ทั้งระดับประถมศึกษา   ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
 ภูมิปัญญา/แหล่งเรียนรู้
ในตำบลปงแสนทองมีแหล่งเรียนรู้ในแต่ละสาขาแยกเป็นรายหมู่
(1) การทำพิธีบายศรีสู่ขวัญ,สืบชะตาราศี  เจ้าของภูมิปัญญา คือ  นายปั๋น  หาญจักรคำ             บ้านเลขที่ 37 หมู่ที่1 ต.ปงแสนทอง   ความเป็นมาของภูมิปัญญาเกิดจากการเรียนรู้ที่ถ่ายทอดมาจากบิดามีการจัดกิจกรรมด้านประกอบพิธี  ต่าง ๆ ปัจจุบันไม่มีผู้ที่จะสืบทอดเนื่องจากการประกอบพิธีกรรมมีความซับซ้อนขั้นตอนหลากหลายบทสวดมนต์หรือคาถาเป็นภาษาบาลีและไม่มีการจดบันทึกอาศัยการท่องจำเอาและชาวบ้านยังมีความเชื่ออยู่ว่าถ้าหากทำพิธีได้ไม่ถูกต้องอาจจะเป็นโทษกับตนเองซึ่งจะต้องทำความเข้าใจและปรับเปลี่ยนแนวคิดใหม่

(2) การทำตุง เจ้าของภูมิปัญญา คือ นายคำปัน ดวงแก้วมูล  บ้านเลขที่135/1 หมู่ที่ 6               ความเป็นมาของภูมิปัญญาเกิดจากการเรียนรู้ที่ถ่ายทอดมาจากผู้รู้ในหมู่บ้านมีการจัดกิจกรรมในช่วงเทศกาลต่างๆเช่นประเพณีสงกรานต์จะทำตุงกระดาษเพื่อนำไปถวายวัดหรือในงานศพที่จะตัดตุงเป็นรูปคนไปปักไว้เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของดวงวิญญาณและจะลอยไปสู่สวรรค์ แต่ในปัจจุบันส่วนใหญ่ยังอาศัยความสะดวกไปหาซื้อตามร้านค้าที่ทำไว้สำเร็จรูปทำให้ในช่วงนี้ไม่ได้ทำอย่างต่อเนื่องการสืบทอดความรู้ยังไม่มีการสนับสนุน
(3) ดนตรีพื้นเมือง สีสะล้อ  เจ้าของภูมิปัญญา  คือ  นายมา  แก้วปินใจ   บ้านเลขที่ 196 หมู่ที่7  ความเป็นมาของภูมิปัญญาเกิดจากการเรียนรู้ที่ถ่ายทอดมาจากบิดามีการจัดกิจกรรมร่วมกับกลุ่มด้านดนตรีและรับจ้างในงานสำคัญต่าง ๆ ปัจจุบันไม่มีผู้ที่จะสืบทอดในหมู่บ้านเพราะไม่เป็นที่นิยมแต่จะหันไปใช้เครื่องบันทึกเสียงแทน
(4) การจักสานใบตาล เจ้าของภูมิปัญญา คือ นางแก้ว  ตาสิงห์  บ้านเลขที่ 216  หมู่ที่7            ความเป็นมาของภูมิปัญญาเกิดจากการเรียนรู้ที่ถ่ายทอดมาจากบิดามีการจัดกิจกรรมด้าน ต่าง ๆ ปัจจุบันมีกลุ่มผลิตภัณฑ์และมีผู้ที่จะสืบทอดเป็นเยาวชนในหมู่บ้านที่เห็นความสำคัญและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
(5) การปั้นอิฐมอญ เจ้าของภูมิปัญญา คือ นายสงัด  ศรีทินนท์   บ้านเลขที่  64 หมู่ที่10 ความเป็นมาของภูมิปัญญาเกิดจากการเรียนรู้ที่ถ่ายทอดมาจากบิดามีการจัดกิจกรรมด้านการประกอบอาชีพ  ปัจจุบันไม่มีผู้ที่จะสืบทอดเนื่องจากการปั้นอิฐมอญแต่ละครั้งต้องใช้แรงงานจำนวนมากไม่มีเครื่องทุ่นแรงมาใช้การสร้างอาคารต่างๆก็ใช้วัสดุที่ทำมาจากเครื่องจักรกล ตัวเจ้าของเองก็ยังเป็นห่วงว่าถ้าหมดรุ่นนี้ไปก็คงจะไม่มีใครสืบทอดต่อไปอีก
(6) การทำข้าวแคบ เจ้าของภูมิปัญญา คือ นางสาวขาว  มาละตุ  หมู่ที่ 5 บ้านเลขที่ ความเป็นมาของภูมิปัญญาเกิดจากการเรียนรู้ที่ถ่ายทอดมาจากบิดามีการจัดกิจกรรมด้านการประกอบอาชีพ ปัจจุบันยังมีผู้ที่จะสืบทอดส่วนใหญ่คือลุกหลานในหมู่บ้านเนื่องจากการทำข้าวแคบเป็นอาชีพที่ทำรายได้เป็นอย่างดี
(7) การทำเครื่องประดับ  ทอง เงิน เจ้าของภูมิปัญญา คือ นายสุทธิพงศ์  เสริมสุข บ้านเลขที่  389 หมู่ที่9 ความเป็นมาของภูมิปัญญาเกิดจากการเรียนรู้ที่ถ่ายทอดมาจากบิดามีการจัดกิจกรรมด้านการประกอบอาชีพ  ปัจจุบันไม่มีผู้ที่จะสืบทอดเนื่องจากการทำแต่ละครั้งต้องใช้เวลาจำนวนมากไม่มีเครื่องทุ่นแรงมาใช้ ตัวเจ้าของเองก็ยังเป็นห่วงว่าถ้าหมดรุ่นนี้ไปก็คงจะไม่มีใครสืบทอดต่อไปอีก

      
 ระบบการบริหารจัดการ
                   กศน.ตำบลปงแสนทอง มีแผนการปฏิบัติงาน /โครงการ มีแผนราย 3ปี แผนรายปี แผนรายภาค แผนรายเดือน โดยมีโครงการต่างๆ มีฐานข้อมูลและนำไปใช้จัดกิจกรรม โดยมีฐานข้อมูลชุมชนที่มาจากการะประชาคม และข้อมูลอ้างอิงจากภาครัฐและท้องถิ่นในการนำมาทำกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวกับนโยบายของ กศน.  





















                      กศน.ตำบลปงแสนทอง มีการประชุมของคณะกรรมการกศน.ตำบล/แขวง อย่างน้อยปีละ 2ครั้งมีการนิเทศติดตามผล/รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี มีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมที่หลากหลายมีเครือข่ายภาครัฐและเอกชน และองค์กรชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ















          กศน.ตำบลปงแสนทอง มีสถานที่ที่เป็นสัดส่วน เหมาะสม และมีบรรยากาศเอื้อต่อการจัดกิจกรรม 

















 กศน.ตำบลปงแสนทอง มีวัสดุ ครุภัณฑ์ เพียงพอ พร้อมให้บริการ ทั้งหนังสือแบบเรียนและสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ เครื่องคอมพิวเตอร์และระบบอินเตอร์เน็ต



















การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
                มีการสำรวจปัญหาและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย  มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายเป็นไปตามแผน ทั้งการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาต่อเนื่อง  มีการประเมินและรายงานผลหลังเสร็จสิ้นกิจกรรมรายงานทาง Googie ไดรฟ์




การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญให้เกิดกระบวนการคิด และกล้าแสดงออก





















กศน.ตำบลปงแสนทองมีการดำเนินการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการอ่านที่หลากหลายให้กับกลุ่มเป้าหมายทุกๆกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ในพื้นที่














ผลการดำเนินงาน

     กศน.ตำบลปงแสนทอง ผู้เรียน/ผู้รับบริการ ร้อยละ 90 มีความพึงพอใจในระดับดีขึ้นไป โดยที่ผู้เรียน/ผู้รับบริการนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต





ผู้รับการประเมิน 

นายทรนง      ใจจืด
ครูศูนย์การเรียนชุมชน
ตำบลปงแสนทอง 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น